6 วิธี จับไต๋ Programmer (ตัวปลอม)
21-มิ.ย.-17
HR insights
การสัมภาษณ์งานเป็นขั้นตอนสำคัญในการคัดเลือกผู้สมัครงานหลังจากที่เราได้เช็คประวัติมาแล้วจากจดหมายสมัครงานหรือเรซูเม่ แต่บางครั้งสิ่งที่เราประเมินผู้สมัครในวันสัมภาษณ์อาจตรงกันข้ามกับความสามารถในการปฏิบัติงานจริง การยิงคำถามที่เจาะลึกเกี่ยวกับรายละเอียดการทำงานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ สำหรับงานด้านไอทีการขอให้หัวหน้างานเข้าร่วมสัมภาษณ์งานด้วยน่าจะเป็นทางเลือกที่นี้ที่สุด แต่ในฐานะที่คุณเป็น HR จะมีวิธีใดบ้างที่จะช่วยจับไต๋โปรแกรมเมอร์ตัวปลอมตอนสัมภาษณ์ได้บ้าง มาดูกันค่ะ
- ใช้ “การ Test” เป็นตัวช่วย
การให้ผู้สมัครทำ Test ถือเป็นตัวช่วยวัดความสามารถอย่างหนึ่ง ควรเลือกใช้ Test ที่ให้ผลออกมาได้จริงๆ ไม่ใช่ Test ที่ตอบได้แบบกว้างๆ ที่จริงมีผู้สมัครที่เก่งๆ มีความสามารถในการ Coding Program อยู่แล้ว ซึ่งการ Test นี้จะช่วยคัดกรองคนเก่งเหล่านั้นออกมาจากเหล่าโปรแกรมเมอร์ตัวปลอมทั้งหลาย สำหรับ HR แล้วเว็บไซต์ Quora และ Reddit ก็น่าจะช่วยในเรื่องข้อมูลด้านไอทีได้เป็นอย่างดี แต่ถ้ามีผู้ที่เชี่ยวชาญด้าน Coding Program มาช่วยสัมภาษณ์ด้วย ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
- ถามคำถามเกี่ยวกับการใช้งานจริงๆ
ศิลปะของการ Coding Program คือการที่โปรแกรมสามารถใช้งานได้จริง Code ที่ดูสละสลวยแต่กลับไม่ตอบสนองการใช้งานจริงก็มีให้เห็นกันอยู่มากมาย โปรแกรมเมอร์ที่ไม่เก่งจริงนั้นมักจะพบว่า ไม่ค่อยจะเข้าใจพวกคำศัพท์ หรือ Feature ต่างๆ ที่คนไอทีมักใช้กันอย่างลึกซึ้ง และที่สำคัญไม่สามารถนำไปใช้ประยุกต์ในการ Coding Program จริงๆได้ คุณลองถามผู้สมัครเกี่ยวกับ Feature เหล่านั้นดูว่าสามารถนำไปใช้ปรับปรุงแก้ไข system หรือ framework ได้อย่างไรบ้าง ถ้าตอบไม่ได้ ก็แสดงว่า พวกเขาไม่ได้รู้ลึกรู้จริงหรือติดตามข่าวสารในเรื่องของ Programing เลย
- ประสบการณ์ทำงานเป็นทีม
โปรแกรมเมอร์มักใช้เวลาอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานเป็นวันๆ คนเดียว แต่ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ดี เพราะโปรแกรมเมอร์ที่เก่งๆ ที่เป็นตัวจริง พวกเขาสามารถ Coding Program ที่ทำให้คนอื่นๆ ในทีมเข้าใจได้ถูกต้องและคนในทีมสามารถเอา Code ไปปรับปรุงแก้ไขต่อได้โดยง่าย คุณลองถามผู้สมัครเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานดูสิ ว่า เคยทำโปรเจคใหญ่ที่ทำงานเป็นทีมบ้างหรือไม่ หรือลองให้พวกเขา Coding Program สัก Module สั้นๆ ดู แล้วให้โปรแกรมเมอร์เก่งๆ มาอ่าน Code เชื่อว่าคนไอทีด้วยกันก็จะพอดูออกว่าใครผ่านหรือไม่ผ่าน
- ระวังการพูดที่มั่นใจและไหลลื่นเกินเหตุ
คนไอทีที่เชี่ยวชาญด้านการ Coding Program นั้น พวกเขามักจะคิดว่า การที่โปรแกรมพวกเขาออกมาดีมีประสิทธิภาพนั้น ถือเป็นรางวัลที่ยิ่งใหญ่สำหรับพวกเขา และมักพูดเน้นเรื่องทักษะด้านไอที มากกว่า ที่จะตอบสัมภาษณ์โดยใช้คำพูดสวยหรูให้ตัวเองดูเก่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่พูดเก่งๆ จะ Coding Program ไม่เก่งเสมอไปนะ มันเป็นแค่ลักษณะส่วนใหญ่ของคนไอทีเท่านั้นเอง ในฐานะ HR หรือหัวหน้างานต้องพิจารณาเรื่องอื่นๆ ประกอบกันด้วย
- มองหา Passion ในการ Coding
การมี Passion ในงานนั้น เป็นเรื่องที่แสดงออกได้ยากกว่าการแค่บอกว่า ชอบ คุณอย่าถามเพียงแค่ ผู้สมัครมีประสบการณ์มากน้อยแค่ไหน มีทักษะอะไรบ้าง แต่ลองถามพวกเขาว่า ทำไมพวกเขาถึง Coding Program นั้นขึ้นมา เพื่อแก้ไขปัญหาอะไร หรือช่วยทำให้อะไรดีขึ้นบ้าง เพราะคนไอทีที่มีพรสวรรค์ และมี Passion จะสามารถอธิบายแรงบันดาลใจของการพัฒนา Program เพื่อใครและเพื่ออะไร จนถึงผลลัพธ์ที่ออกมา แล้วพวกเขารู้สึกอย่างไรกับสิ่งที่เขาทำ ในขณะที่คนไอทีทั่วไป ส่วนใหญ่มักจะพูดถึงแต่เรื่องประสบการณ์และทักษะที่เกี่ยวข้อง ส่วนโปรแกรมเมอร์ตัวปลอมมักจะพูดเรื่องทั่วไปที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่เลี่ยงตอบไม่ตรงคำถามและเบี่ยงเบนประเด็นไปเรื่อย
- ระวัง Resume ที่ใส่ทักษะ Programming ที่มากจนเกินเหตุ
สำหรับโปรแกรมเมอร์ที่ประสบการณ์สูงแล้วอาจจะมีทักษะหลายอย่าง แต่สำหรับกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ส่วนใหญ่แล้ว คงไม่มีประสบการณ์หรือทักษะภาษาคอมพิวเตอร์ที่มากมายเป็น 10 ภาษา หากเห็นใครที่เขียนใน Resume ว่ามีทักษะเยอะมากๆ ก็เป็นเรื่องที่ HR และหัวหน้างานควรตรวจสอบให้ดีว่า พวกเขามีทักษะตามนั้นจริงหรือไม่ ซึ่งคงต้องมาพิสูจน์กันอีกครั้งตอนสัมภาษณ์งาน
นี่คือแนวทางและข้อสังเกตเบื้องต้น ที่พอจะช่วยเหล่า HR และหัวหน้างาน ใช้ในการพิสูจน์ว่า “ใคร” ที่เป็นโปรแกรมเมอร์ตัวจริงเสียงจริง ที่องค์กรควรรับเข้าทำงาน เพราะการสัมภาษณ์งานใช้เวลาไม่นานมากพอที่จะพิสูจน์ใครได้ ไม่เหมือนกับตอนที่ทำงานจริงๆ ดังนั้นหวังว่า บทความนี้น่าจะช่วยให้ผู้ที่ทำหน้าที่สัมภาษณ์ผู้สมัคร จะได้นำไปประยุกต์ใช้สังเกตโปรแกรมเมอร์หรือคนไอทีได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา: techinasia.com
อัพเดทบทความจากคนวงในสายไอทีทาง LINE ก่อนใคร
อย่าลืมแอดไลน์ @techstarth เป็นเพื่อนนะคะ
|
บทความที่เกี่ยวข้อง